นำเข้าสินค้าจากจีนกับ 11 พันธมิตรที่มีการนำเข้าสูงสุดในปี 2019

นำเข้าสินค้าจากจีน 11 พันธมิตรคู่ค้าจีน BKK Shipping นำเข้าสินค้าจากจีน นำเข้าสินค้าจากจีนกับ 11 พันธมิตรที่มีการนำเข้าสูงสุดในปี 2019                                                        11                                                     BKK Shipping 768x402

นำเข้าสินค้าจากจีนทั่วโลก ในเดือนมีนาคม ปี 2020 ที่ผ่านมา มูลค่าการนำเข้าจากจีนอยู่ที่ประมาณ 165.25 ล้านดอลล่าร์สหรัฐ ซึ่งมูลค่าการนำเข้า เกือบจะเป็นตัวเลขที่ใกล้เคียงกับปีที่ผ่านมา

จากการสำรวจของ Statista แพลตฟอร์มที่เก็บข้อมูลต่างๆ เพื่อรวบรวมเป็นสถิติที่น่าเชื่อถือ ได้ระบุว่า ในปี 2019 มี 11 ประเทศพันธมิตรที่มีการนำเข้าจากจีนสูงสุด โดยประเมินจากมูลค่าการนำเข้าเป็นสกุลเงินหยวน

สถิติในครั้งนี้ ชี้ให้เห็นว่าประเทศในกลุ่มอาเซียนมีการนำเข้าสินค้าจากจีนสูงสุดในปีที่ผ่านมา ตามมาด้วยกลุ่มประเทศ EU เป็นลำดับ 2 ส่วนเกาหลีใต้ ไต้หวัน และญี่ปุ่น ตามมาติดๆ 

BKK Shipping รวบรวมข้อมูลจากแหล่งข่าวต่างๆ ที่น่าเชื่อถือ และวิเคราะห์ถึงสาเหตุที่ว่า ทำไมอาเซียนจึงกลายเป็นผู้นำเข้าจากจีนสูงสุดในปี 2019

11 พันธมิตรผู้นำเข้าสินค้า bkkshipping นำเข้าสินค้าจากจีน นำเข้าสินค้าจากจีนกับ 11 พันธมิตรที่มีการนำเข้าสูงสุดในปี 2019 11                                                                       bkkshipping 1024x1024

พันธมิตรคู่ค้านำเข้าของจีน

ย้อนกลับไปในปี 2018 จีนถือเป็นผู้นำเข้าสินค้ารายใหญ่เป็นอันดับ 3 ของโลก รองจากสหรัฐอเมริกาและเยอรมนี โดยมีมูลค่าการนำเข้า 13.6% ของทั่วโลก ซึ่งเป็นมูลค่าที่มากกว่าหลายศตวรรษที่ผ่านมาเลยก็ว่าได้ ต่อมาในปี 2019 อาเซียนและประเทศสหภาพยุโรป ขึ้นเป็นคู่ค้าอันดับ 1 และ 2 ในการนำเข้าสินค้าจากจีนมากที่สุด โดยคิดมูลค่าการนำเข้าประมาณ 1.95 ล้านล้านหยวน และ 1.91 ล้านล้านหยวนตามลำดับ

ส่วนหนึ่งที่เป็นผลมาจากประเทศในกลุ่มอาเซียนนั้นได้รับการยกเว้นภาษีนำเข้าจากจีน 0% ตามข้อตกลง ACFTA (Asean-China Free Trade Agreement) หรือข้อตกลงเขตการค้าเสรี อาเซียน-จีน ซึ่งมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 1 กรกฎาคม 2548 ต่อมาได้มีการปรับปรุงแก้ไขเพิ่มเติม และเริ่มบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 1 กันยายน 2562 เป็นต้นไปมาจนถึงปัจจุบัน

โดยข้อตกลงดังกล่าวทำให้ประเทศสมาชิกอาเซียน ได้แก่ ไทย บรูไน กัมพูชา อินโดนีเซีย ลาว เมียนมาร์ มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ สิงคโปร์ และเวียดนาม ได้รับสิทธิพิเศษในการนำเข้าจากจีน โดยยกเว้นภาษีนำเข้าสำหรับสินค้า 8,000 กว่ารายการ หรือร้อยละ 90 รายการสินค้า เพื่อเป็นการขยายความร่วมมือทางเศรษฐกิจระหว่างประเทศสมาชิกอาเซียน ทั้งนี้ผู้นำเข้าต้องมีเอกสารที่เรียกว่า Form E (หนังสือรับรองถิ่นกำเนิดสินค้า) ในการยื่นให้กับศุลกากรของประเทศที่ส่งออกและนำเข้าเพื่อการได้รับสิทธิ์

ด้วยเหตุนี้ จึงไม่แน่แปลกใจว่าเหตุใด อาเซียนจึงกลายเป็นผู้นำเข้าจากจีนสูงสุดในปีที่ผ่านมา ในขณะที่ประเทศกลุ่มสหภาพยุโรป (EU) ปัจจุบันประกอบด้วย 27 ประเทศในทวีปยุโรป พบว่ามีจำนวนมากกว่า 80% ของการนำเข้าสินค้าจากจีน ส่วนใหญ่เป็นสินค้าอุตสาหกรรม ในขณะที่สินค้าหลักที่ส่งไปยังจีนจะเป็นพวกเครื่องจักรและอุปกรณ์ขนส่ง

ในขณะที่เกาหลีใต้เองนั้น สินค้าที่นำเข้ามาในประเทศนั้น ได้แก่ น้ำมันเชื้อเพลง เครื่องจักรไฟฟ้า เครื่องจักรกล อุปกรณ์ทางการแพทย์ และเหล็ก ซึ่งจีนถือเป็นแหล่งตลาดนำเข้ารายใหญ่ที่สุดของเกาหลี รองลงมาคือญี่ปุ่น สหรัฐอเมริกา เยอรมัน และซาอุดิอาระเบีย เป็นต้น

อย่างไรก็ตาม จีนนับเป็นแหล่งผลิตสินค้าที่ทั้งเป็นผู้ผลิตเอง และมีบริษัทต่างชาติที่เข้ามาลงทุน เปิดโรงงานเพื่อผลิตสินค้าส่งออกด้วยเช่นกัน ซึ่งเม็ดเงินในแต่ละปีถือว่ามีมูลค่ามหาศาล จนจีนขึ้นแท่นเป็นมหาอำนาจทางเศรษฐกิจโลกไม่แพ้สหรัฐอเมริกา สำหรับในปี 2020 นี้ เรายังต้องเฝ้าจับตากันต่อไป เนื่องจากสถานการณ์ไวรัสโคโรนาที่เกิดขึ้นตั้งแต่ปลายปี 2019 ที่ผ่านมา อาจส่งผลต่อการนำเข้าและส่งออกจากจีนหยุดชะงักไปช่วงระยะเวลาหนึ่ง