นำเข้าสินค้าจากจีน ในแต่ละครั้ง จำเป็นต้องขนส่งด้วยตู้คอนเทนเนอร์หรือตู้สินค้าที่ปิดมิดชิดเพื่อเตรียมการเดินทางไกลสู่จุดมุ่งหมายและถึงมือลูกค้า
แต่รู้หรือไม่ว่า ตู้คอนเทนเนอร์หรือตู้สินค้า ที่นำเข้าสินค้าจากจีน ไม่ว่าจะทางรถหรือทางเรือนั้น ถูกประดิษฐ์และจดสิทธิบัตรครั้งแรกเมื่อปี ค.ศ. 1956 โดยนักลงทุนชาวอเมริกันนามว่า Malcom Mc Lean ผู้ซึ่งได้รับฉายาว่าเป็น ‘บิดาแห่งการขนส่งระบบตู้สินค้า’
เดิมทีเดียว Mc Lean ไม่ได้เป็นผู้ให้บริการขนส่งทางเรือ แต่เขาเคยป็นคนขับรถบรรทุกส่งน้ำมัน ต่อมามีกิจการรถบรรทุกของตัวเองโดยเริ่มจากมีรถบรรทุก 2 คัน จนกระทั่งขยับขยายเป็น 1,700 คันในปี 1950 ซึ่งทำให้บริษัทของ Mc Lean เป็นบริษัทรถบรรทุกที่มีขนาดใหญ่ติด 1 ใน 3 ของสหรัฐอเมริการในขณะนั้น
Mc Lean ไม่เคยหยุดพัฒนาระบบการขนส่ง และในเวลาต่อมาเขาได้มีการพัฒนาระบบการขนส่งด้วยตู้คอนเทนเนอร์เพื่อช่วยลดค่าใช้จ่ายและทำให้การคมนาคม-การค้าสะดวกสบายมากขึ้น ปัจจุบันระบบการขนส่งตู้คอนเทนเนอร์กลายเป็นการขนส่งสากล และถูกนำไปใช้ทั่วโลก
เช่นเดียวกันการนำเข้าสินค้าจากจีน ก็ใช้ระบบการขนส่งตู้คอนเทนเนอร์เช่นเดียวกัน ซึ่งตู้คอนเทนเนอร์ในปัจจุบัน ทำด้วยเหล็กหรืออลูมิเนียม โดยแบ่งประเภทของตู้ออกเป็น 5 ชนิด แต่ละชนิดเหมาะสมกับการบรรทุกสินค้าที่แตกต่างกัน ดังต่อไปนี้
- Dry Container (ตู้คอนเทนเนอร์แห้ง) เป็นตู้คอนเทนเนอร์ตามมาตรฐานทั่วไป ที่อาจพบเห็นบ่อยๆ โดยจะแบ่งออกเป็น 3 ประเภท คือ ขนาด 20 ฟุต และ 40 ฟุต ตู้คอนเทนเนอร์แห้งเป็นตู้สำหรับขนส่งสินค้าทั่วๆ ไปที่ไม่ต้องมีการควบคุมอุณหภูมิ และเป็นสินค้าที่ไม่เน่าเสียง่าย อาทิ วัตถุดิบต่างๆ, ชิ้นส่วนรถยนต์, อุปกรณ์สำนักงาน, เครื่องสำอาง ฯลฯ อย่างไรก็ตาม น้ำหนักสูงสุดที่จะบรรทุกตู้คอนเทนเนอร์ประเภทนี้ได้อยู่ที่ประมาณ 28 ตัน
- Refrigerator Container (ตู้ควบคุมอุณหภูมิ) เป็นประเภทตู้สินค้าที่มีเครื่องปรับอากาศ สามารถตั้งค่าความชื่นและควบคุมอุณหภูมิได้ ตามปกติแล้วช่วงอุณหภูมิจะอยู่ที่ -25 ถึง +25 องศาเซลเซียส ส่วนใหญ่จะใช้สำหรับการขนส่งสินค้าที่เน่าเสียง่าย พวกของสด อาหารแช่แข็ง สารเคมีที่ต้องควบคุมอุณหภูมิ ฯลฯ การขนส่งด้วยตู้คอนเทนเนอร์ประเภทนี้ จึงมีค่าขนส่งและค่าใช้จ่ายที่สูงกว่าตู้แห้ง
- Garment Container เป็นตู้สินค้าที่ใช้บรรจุเสื้อผ้าเครื่องแต่งกายโดยเฉพาะ ภายในตู้มีราวแขวนเสื้อ ส่วนมากมักใช้กับสินค้าแฟชั่น ที่ไม่ต้องการพับหรือบรรจุอยู่ในแพ็คเพราะจะทำให้เสื้อผ้ามีรอยยับหรือเสียทรง
- Open Top ตู้คอนเทนเนอร์ประเภทนี้ ส่วนมากมักจะมีขนาด 40 ฟุต ส่วนใหญ่จะถูกออกแบบมาไม่ให้มีหลังคา เพื่อใช้ในการวางสินค้าขนาดใหญ่ ซึ่งไม่สามารถขนย้ายผ่านประตูของตู้คอนเทนเนอร์ได้ และจำเป็นต้องขนย้ายโดยการยกส่วนบนของตูคอนเทนเนอร์แทน เช่น เครื่องจักร เป็นต้น
- Flat-Rack เป็นตู้ราบที่มีขนาดกว้างและยาวตามขนาดมาตรฐานของคอนเทนเนอร์ แต่ไม่มีผนังและเพดาน เหมาะสำหรับสินค้าที่มีขนาดไม่ดีกับตู้สินค้าหรือสินค้าที่มีลักษณะพิเศษ ไม่สามารถโหลดใส่ตู้แห้งแบบปกติได้ เช่น แท่งหิน, เครื่องจักร, รถแทรกเตอร์ โดยตู้คอนเทนเนอร์ประเภทนี้ มักจะมีค่าใช้จ่ายที่สูงกว่าแบบอื่นๆ เนื่องจากบนเรือมีพื้นที่จำกัดสำหรับการวางตู้สินค้าชนิดนี้
อย่างไรก็ตาม ปัญหาที่พบได้บ่อยสำหรับตู้คอนเทนเนอร์ขนส่งสินค้าในประเทศไทย คือ ตู้คอนเทนเนอร์ไม่สะอาด ซึ่งเป็นปัญหาที่พบได้บ่อยที่สุด หรือสภาพของตู้คอนเทนเนอร์ไม่สมบูรณ์ มีรอยขีดข่วนหรือรอยรั่ว ตลอดจนกลิ่นเหม็น ฯลฯ
ทั้งนี้ ปัญหาต่างๆ เหล่านี้ จะไม่สามารถพบได้เมื่อใช้บริการกับ BKK Shipping บริษัทนำเข้าสินค้าจากจีนมาไทย ที่มีประสบการณ์มายาวนานและความเชี่ยวชาญในการนำเข้าแบบมืออาชีพ มีทั้งขนส่งทางรถและทางเรือ ด้วยการให้บริการขนส่งด้วยตู้คอนเทนเนอร์ที่ได้มาตรฐาน สะอาด และสภาพสมบูรณ็ จึงมั่นใจได้ว่าสินค้าของคุณจะปลอดภัยและอยู่ในสภาพดีที่สุด (อ่านเพิ่มเติมเกี่ยวกับ ขั้นตอนการนำเข้าสินค้าทางบก)