ชิปปิ้ง การดำเนินงานธุรกิจยุคนี้มีการแข่งขันกันอย่างดุเดือดผู้ที่ได้เปรียบอาจไม่ใช่คนที่เก่งกาจ แต่เป็นผู้ที่รู้จักนำเอาเทคโนโลยีใหม่ๆ มาประยุกต์ใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุดในกระบวนการทำงาน
อุตสาหกรรมขนส่งและโลจิสติกส์ก็เช่นกัน ปัจจุบันผู้คนหันมาสั่งสินค้าออนไลน์กันมากขึ้น ธุรกิจขนส่งสินค้าหรือชิปปิ้ง จึงเติบโตก้าวหน้าอย่างรวดเร็ว
รวมไปถึงการพัฒนาด้านเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องกับการขนส่ง ก็เจริญรุดหน้าไม่ต่างกัน อาทิ เทคโนโลยีที่เรียกว่า Augmented Reality (AR) และ Virtual Reality (VR)
Augmented Reality (AR) เป็นโซลูชั่นสำหรับคลังสินค้า
AR เป็นเทคโนโลยีที่ผสมผสานเอาโลกแห่งความเป็นจริง (Real) เข้ากับโลกเสมือน (Virtual) เนื่องจากเวลาเป็นสิ่งสำคัญที่มีผลต่อประสิทธิภาพของกระบวนการคลังสินค้า เพื่อให้แน่ใจว่ากระบวนการจัดส่งสินค้าจะใช้เวลาการส่งมอบโดยเร็วที่สุด ระบบการจัดการสินค้าคงคลังจึงควรเป็นระบบที่ชัดเจน มีความแม่นยำสูง ซึ่งเทคโนโลยี AR ได้เข้ามาช่วยในการแสดงภาพของเค้าโครงคลังสินค้าในระหว่างกระบวนการทำงาน ข้อดี เช่น
◽ เพิ่มประสิทธิภาพของพนักงานคลังสินค้า โดยเฉพาะพนักงานใหม่ที่ไม่คุ้นเคยกับสภาพแวดล้อมในคลังสินค้า
◽ เพิ่มความสามารถในการหลีกเลี่ยงข้อผิดพลาด ลดการเสียเวลา เมื่อค้นหาตำแหน่งสินค้าบนชั้นวางของ
◽ ลดความเสียหายของรายการสินค้า รายการสินค้าในคลังสินค้ามีความเป็นระเบียบมากขึ้น ทำให้มีความแม่นยำในการค้นหา
◽ ลดค่าใช้จ่ายในการจ้างแรงงาน เนื่องจากเป็นการดำเนินการอัตโนมัติ
Virtual Reality หรือ (VR) เทคโนโลยีเพื่อการวางแผนคลังสินค้า
เป็นเทคโนโลยีที่เพิ่มสภาพแวดล้อมเสมือนจริงด้วยข้อมูลดิจิทัล เป็นหนึ่งในกระบวนการการจัดการที่แม่นยำสำหรับบริษัทโลจิสติกส์ขนาดใหญ่ และมีโอกาสเกิดข้อผิดพลาดมากที่สุด เนื่องจากพื้นที่คลังสินค้าและการจัดเก็บสินค้ามีหลายร้อยรายการ การค้นหารายการสินค้า และการโหลดสินค้าไปยานพาหนะจึงอาจเกิดข้อผิดพลาดได้ง่าย
เทคโนโลยี VR ช่วยแสดงภาพคลังสินค้าทั้งหมด เพื่อใช้สำหรับการวางแผน การแสดงข้อมูลตำแหน่งของสินค้าที่จัดเก็บและการค้นหาได้อย่างง่ายดาย รวมถึงการโหลดสินค้าลงในยานพาหนะให้มีการกระจายน้ำหนักของสินค้าเท่าๆ กัน ช่วยให้ผู้ขับรถส่งของสามารถควบคุมรถได้อย่างมีประสิทธิภาพ ตลอดจนใช้สำหรับการค้นเส้นทางการขนส่ง และเส้นทางการจราจรล่วงหน้าที่จะเกิดขึ้น
ความเป็นไปได้ของการใช้ AR และ VR สำหรับการขนส่งในอนาคต
เมื่อเทคโนโลยีทั้งสองประเภทนี้ สามารถจำลองภาพเสมือนจริงได้ จึงถูกนำมาประยุกต์ใช้ในการจำลองสถานการณ์กิจกรรมด้านโลจิสติกส์ เพื่อปรับเปลี่ยนรูปแบบให้เหมาะสม และมีประสิทธิภาพสูงสุด อาทิ การฝึกอบรมพนักงานขับรถบรรทุกสินค้าอันตรายภายใต้สถานการณ์ที่ซับซ้อนจากการจราจร การจำลองสถานการณ์จริง จะช่วยให้พนักงานหาวิธีแก้ปัญหาเฉพาะหน้า เพื่อลดความเสี่ยง ประหยัดเวลาในการส่งมอบสินค้าได้ดีที่สุด
อ้างอิงข้อมูล : http://industryexpert.me/article2/, https://jasoren.com/logistics/